5 วิธีลดเสียงรบกวนขณะบันทึกเสียง

การบันทึกเสียงแบบ Home Studio กลายเป็นเรื่องง่ายในปัจจุบัน แค่มีห้องสักห้องภายในบ้านก็ทำได้แล้ว แต่การจะบันทึกเสียงให้ได้คุณภาพ เราต้องนึกถึง 2 เรื่องหลักๆ คือ การเก็บเสียงให้ได้คุณภาพดีที่สุด ชัดเจนที่สุด แต่ต้องมีเสียงรบกวนน้อยที่สุด วันนี้ ZOUNDLAB จะมาบอกวิธีดีๆ ในการกำจัดเสียงรบกวนขณะบันทึกเสียงกันครับ

อย่าใช้สายผิดประเภท

สายสัญญาณที่ใช้ทำงานบันทึกเสียงแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น สายสำหรับไมโครโฟน หรือสายสำหรับต่อเครื่องดนตรี การเลือกสายสัญญาณที่ออกแบบมาตรงกับงานจะทำให้เราได้ใช้ความสามารถของสายนั้นๆ ได้เต็มที่ ถ้าเรามีทักษะในการบัดกรีเข้าหัวสายสัญญาณ แนะนำว่าให้ซื้อมาทำเองได้เลย สำหรับใครกำลังหาหัวสายสัญญาณอยู่เราแนะนำให้ใช้หัวสายสัญญาณ TS 6.3 ของ PROEL เลย เพราะใช้วัสดุคุณภาพสูงที่ผลิตจากประเทศ Italy แต่ราคาไม่แรง แต่ถ้าไม่มีทักษะเรื่องนี้ ให้ซื้อสายแบบสำเร็จรูปมาใช้ดีกว่า เพราะการต่อสายผิดขั้วทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของเสียงจนเกิดเสียงรบกวนได้ หรืออาจทำให้อุปกรณ์พังได้เลย เป็นอีกเรื่องที่ต้องระวังครับ

เช็คระบบไฟภายในบ้าน

เราต้องตรวจสอบระบบไฟบ้านก่อนบันทึกเสียงทุกครั้ง ว่าเดินไฟไว้ดีไหม สายต่างๆ ต่อไว้ดีไหม เพราะห้องบันทึกเสียงของบางคน อาจอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือระบบไฟภายในบ้านไม่ดี ทำให้เกิดเสียงจี่ๆ รบกวน ไฟตกขึ้นมาได้ ทางแก้ง่ายๆ คือ เราควรเลือกเวลาทำงานในช่วงที่ระบบไฟนิ่งที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่โรงงานข้างบ้านไม่ได้ทำงาน หรือซื้อตัวกรองไฟมาใช้แทนได้ครับ

หาที่เงียบบันทึกเสียง

เราควรหาห้องเงียบๆ สำหรับทำงานบันทึกเสียง ซึ่งก่อนบันทึกเสียงให้เราลองทดสอบโดยการตบมือในห้อง ถ้าไม่รู้สึกว่ามีเสียงสะท้อน ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้ามีเสียงก้อง เราสามารถแก้ไขง่ายๆ ด้วยการหาของมาวางในห้อง เช่น ชั้นวางหนังสือพร้อมหนังสือ ตู้เสื้อผ้า หรือสิ่งของต่างๆ เพราะมันช่วยลดพื้นที่กำแพงที่จะทำให้เกิดเสียงสะท้อน และเราไม่จำเป็นต้องหาห้องที่เงียบจนเกินไป ให้มีเสียงจากภายนอกบ้างก็ได้ ถ้ามีเสียงนิดๆ หน่อยๆ จากภายนอก เราแค่หยุดบันทึกเสียงก่อนรอเสียงนั้นหยุดแล้วค่อยบันทึกเสียงต่อก็ได้ครับ

ลดเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อม

เสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่มักมาจากอุปกรณ์ภายในห้องเอง เช่น เสียงแอร์ หรือพัดลม วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อเสียงเหล่านี้ดังขึ้นคือ เปิดแอร์ และพัดลมให้เบาที่สุด เพราะจะช่วยลดการเคลื่อนไหวของเสียงแอร์ เสียงพัดลมได้พอสมควร หรือใช้เทปกาวยึดไปตรงที่จุดขยับของแอร์ ถ้าเรายึดถูกที่ถูกจุดก็จะช่วยลดเสียงรบกวนได้มาก แต่ถ้าทำทุกอย่างแล้วยังมีเสียงรบกวนอยู่ให้ปิดการใช้งานไปเลยครับ จนกว่าจะบันทึกเสียงเสร็จแล้วค่อยเปิดการใช้งานอีกทีครับ

อุปกรณ์เสริมช่วยได้

บางครั้งเราต้องกลับมาดูที่อุปกรณ์เราที่ใช้งานด้วยว่ามีประสิทธิภาพในการเก็บเสียงได้ดีแค่ไหน อุปกรณ์หลักๆ ที่ใช้งานใน Home Studio ก็จะมี ไมโครโฟน, Audio Interface และโปรแกรมบันทึกเสียง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มักจะถูกออกแบบมาให้มีการป้องกันเสียงรบกวนอยู่ระดับนึงแล้ว แต่ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเสียงรบกวน เราแนะนำว่าควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงสะท้อน เสียงก้อง แบบพกพา เช่น MAONO AU-MIS50 Studio Microphone Isolation Shield อุปกรณ์ป้องกันเสียงสะท้อนสำหรับการบันทึกเสียงที่ใช้โฟม EVA ในการป้องกันเสียงรบกวน ซึ่งโฟมชนิดนี้ความยืดหยุ่นสูง และป้องกันเสียงสะท้อนได้ดี

ทั้ง 5 วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาเสียงรบกวนออกไป และเพื่อให้งานบันทึกเสียงที่ทำออกมามีคุณภาพยิ่งขึ้น ก่อนจะบันทึกเสียงทุกครั้งอย่าลืมใช้ 5 วิธีนี้กันนะครับ ในครั้งหน้าจะเป็นบทความ หรือสาระความรู้ดีๆ อะไร ก็ฝากติดตามกันด้วยนะครับ และหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ

สอบถามเพิ่มเติม หรือสนใจเรื่องไมโครโฟน ติดต่อได้ที่ ZOUNDLAB

ทาง Facebook: www.facebook.com/ZOUNDLABSHOP

ทาง Line@: @zoundlab (มี@)

ทาง Website: www.zoundlab.com

ทาง Shopee : shopee.co.th/zoundlab_shop

Login

Lost your password?

Create an account?